ประวัติมาดีนะห์

นบีมูฮำมัด (ซ.ล.) มหาบุรุษผู้รังสรรค์สังคมพหุวัฒนธรรม

มะดีนะฮ์ มีนัยยะความหมาย สองอย่างด้วยกัน  กล่าวคือ หมายถึง นครมะดีนะฮ์ในประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยมีชื่อเต็มว่า “อัลมะดีนะฮ์ อัลนะบะวี” แปลว่าเมืองของนบี เรียกกันสั้นๆว่ามะดีนะฮ์ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก  อีกนัยยะหนึ่ง มะดีนะฮ์ในภาษาอาหรับแปลว่าเมืองหรือชุมชนใหญ่ ซึ่งมีอยู่หลายที่ด้วยกัน อาทิ มะดีนะฮ์ในโมรอคโคคือชุมชนแออัดขนาดใหญ่ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองหลายเมืองในโมรอคโค บ้านเรือนในมะดินะฮ์แต่ละแห่งของโมรอคโคแสดงให้เห็นว่าเมืองมะดีนะฮ์เหล่านั้นเป็นเมืองเก่าแก่ ทุกเมืองมีอายุหลายร้อยปี เมืองมะดีนะฮ์ เป็นนครที่สำคัญทางศาสนาอิสลามอันดับสองรองจากมักกะฮ์ ตั้งอยู่ในประเทศซาอุดีอาระเบีย นับเป็นนครของศาสนทูตมุฮัมมัด ซึ่งศพของท่านฝังอยู่ในมัสยิดอันนะบะวีหรือมัสยิดศาสนทูต โดยมีความเป็นมา ดังนี้

นี่คือกระทู้รวมเรื่องมีสาระ No.62 | เบ็ดเตล็ด | 2981731

มัสยิดอัลนะบะวีหรือมัสยิดนบี เป็นอาคารหลังแรกของนบีมูฮำมัด (ซ.ล.) ในเมืองมะดีนะฮ์ โดยท่านอาศัยอยู่ในบริเวณมัสยิดนี้ก่อนสร้างบ้านของท่านและภรรยาภายในบริเวณปริมณฑลของมัสยิด อาคารมัสยิดในเวลานั้นจัดเป็นอาคารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองมะดีนะฮ์โดยมีรูปทรงสี่เหลี่ยมกว้าง 30 เมตร ยาว 35 เมตร สูง 3 เมตร ฝาเป็นดินอัดปูพื้นหลังคาด้วยลำต้นอินทผาลัมคลุมอีกครั้งด้วยใบอินทผาลัม มีประตูสามแห่งซึ่งไม่มีบานประตูสร้างไว้ทางทิศใต้ ทิศตะวันตกและทิศตะวันออก ไม่มีทางเข้าทางทิศเหนือเนื่องจากในครั้งนั้นทิศกิบลัตหรือทิศที่ผินหน้าไปขณะทำการละหมาดคือทิศเหนือซึ่งชี้ไปยังเยรูซาเล็มอันเป็นเมืองที่นบีมูฮำมัด (ซ.ล.) เดินทางไปเมื่อครั้งเหตุการณ์การเดินทางไกลและขึ้นสู่ฟากฟ้าของนบีมูฮำมัด (ซ.ล.) ที่เรียกกันว่า “อัลอิสเราะฮ์ วัลเมียะรอจ” ซึ่งเกิดขึ้นใน ค.ศ. 620

การขยายและเปลี่ยนแปลงมัสยิดอัลนะบะวีเกิดขึ้นหลายครั้งตลอดประวัติศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงเร็วที่สุดเกิด ใน ค.ศ.623-624 หรือปีที่สองนับจากการฮิจเราะฮ์ ขณะที่นบีมูฮำมัด (ซ.ล.) ละหมาดอยู่ที่มัสยิดบานี ซะลามะฮ์ซึ่งตั้งอยู่นอกเมืองมะดีนะฮ์ พลันมีโองการจากอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ลงมายังท่านนบีปรากฏในอัลกุรอ่านบทที่ 2 อัลบะกอเราะฮ์ วรรคที่ 144 กล่าวถึงการเปลี่ยนทิศกิบลัตจากเยรูซาเล็มไปยังมัสยิดหะรอมหรือกะอ์บะฮ์ในเมืองมักกะฮ์ เหตุนี้มัสยิดบานี ซะลามะฮ์จึงถูกขนานนามว่ามัสยิดกิบละตินหรือมัสยิดแห่งกิบลัต โองการหรือวะฮ์ยูดังกล่าวส่งผลให้ต้องย้ายประตูทางเข้ามัสยิดนบีจากทิศใต้เป็นทิศเหนือเนื่องจากมีการเปลี่ยนกิบลัตจากทิศเหนือคือเยรูซาเล็มไปยังทิศใต้คือมักกะฮ์ การเปลี่ยนทิศกิบลัตมุ่งไปยังมักกะฮ์มีผลทางจิตวิทยาอย่างสูงทำให้มุสลิมในมะดีนะฮ์เกิดความฮึกเหิมและมุ่งมั่นที่จะกลับไปยึดมักกะฮ์คืนจากชนเผ่ากุเรซให้ได้ หนึ่งในปาฎิหาริย์ของอิสลามในยุคสมัยของนบีมูฮำมัด (ซ.ล.) ที่สัมผัสได้ชัดเจนคือคัมภีร์อัลกุรอ่านนั่นเอง

ร่มกันแดดในมัสยิดนาบาวี ,มาดีนะห์ - YouTube

กระบวนการสร้างมัสยิดนบีบ่งชี้ถึงบุคลิกภาพของนบีมูฮำมัด (ซ.ล.) ได้เช่นกัน ใกล้ประตูด้านใต้ (ต่อมาย้ายไปที่ประตูด้านเหนือ) มีม้ายาววางอยู่เรียงรายเตรียมไว้เป็นที่พักสำหรับคนเดินทางและคนยากจน ประตูอีกด้านหนึ่งเป็นที่พักชั่วคราวของท่านนบีและภรรยา มัสยิดนบีในเวลานั้นจึงเป็นทุกอย่างตั้งแต่สถานที่ทำละหมาด, สถานที่พักพิง, สถานสงเคราะห์, ศาลสถิตยุติธรรม ในเวลาต่อมายังใช้เป็นโรงเรียนสอนศาสนา, โรงเรียนสอนสามัญ, สถานฝึกอบรม กระทั่งกลายเป็นป้อมค่ายในยามสงคราม วัตถุประสงค์ของการสร้างมัสยิดคือการใช้เป็นศูนย์กลางของชุมชนในทุกๆด้าน มัสยิดนบีจึงนับเป็นมัสยิดต้นแบบที่ดีที่สุด มัสยิดนบีคือมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในโลกรองจากมัสยิดอัลหะรอมในมักกะฮ์

นอกเหนือจากการสร้างมัสยิด นบีมูฮำมัด (ซ.ล.) ที่มีอำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครองมะดีนะฮ์เสมือนอาณาจักรได้พัฒนามะดีนะฮ์อย่างมากมาย เป็นต้นว่า ระบบชลประทานโดยการดึงน้ำจากบ่อน้ำที่พบนอกเมืองเข้าสู่ตัวเมือง กระบวนการขุดบ่อ วางระดับลาดเทของท่อส่งน้ำ ล้วนเป็นงานทางวิศวกรรมศาสตร์ มีการใช้หลักวิชาการซึ่งถ่ายทอดมาจากอาณาจักรซัสซานิดและอียิปต์โบราณ การสร้างระบบขนส่งน้ำเข้าเมืองเรียกว่า “ฟาลัจ” (Falaj) หรือ “ฆานัต” (Qanat) ตามภาษาเปอร์เซีย การดึงน้ำจากบ่อขึ้นด้านบนโดยใช้แรงงานสัตว์เรียกว่าระบบ “สะฆิยะฮ์” (Saqiya) นอกจากนี้ในบางจุดยังมีการใช้ระบบขนส่งน้ำแบบอียิปต์โบราณ กระบวนการพัฒนาระบบชลประทานนี้นบีมูฮำมัด (ซ.ล.) ทั้งบัญชาการทั้งดำเนินการด้วยตนเอง เป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงภาวะผู้นำ หนักเอาเบาสู้ซึ่งกลายเป็นแรงขับให้มุสลิมในมะดีนะฮ์ที่เรียกกันว่า “อันซอร” และมุสลิมมักกะฮ์ที่เดินทางมาถึงในภายหลังซึ่งเรียกกันว่า “มุฮายิรีน” กระตือรือร้นในการทำงาน ส่งผลให้มะดีนะฮ์พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว

แม้เกิดศึกสงครามกับมักกะฮ์เป็นครั้งเป็นคราวโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกิดขึ้นในรูปสงครามใหญ่ถึงสามครั้ง แต่ในช่วงเวลาสั้นๆเพียงแปดปี มะดีนะฮ์จากเดิมที่เป็นเมืองขนาดเล็ก ทั้งประชากรทั้งความเจริญไม่สามารถเทียบเคียงมักกะฮ์ได้กลับกลายเป็นเมืองรุ่งเรืองมีระบบชลประทานที่ทันสมัย นอกเหนือจากการแจกจ่ายน้ำให้กับชาวเมือง ท่อขนส่งน้ำยังกลายเป็นส่วนสำคัญในระบบชลประทานสำหรับงานเกษตรกรรม ในวันนี้หากใครไปมะดีนะฮ์ สิ่งหนึ่งที่กลายเป็นของฝากสำคัญจากเมืองมะดีนะฮ์ไปถึงทางบ้านคืออินทผาลัมซึ่งลูกโตรสชาติหวานกรอบอร่อย 

อ้างอิงจาก  บทความ ของ ดร.วินัย ดะลัน


image วิดีโอ

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar