วันที่ 11 กันยายน 2566 ที่ห้องประชุมศรียะลา ชั้น 3 อาคาร 3 ศาลากลางจังหวัดยะลา นายธีรุตม์ ศุภวิบูลย์ผล รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เป็นประธานการประชุมรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนพัฒนาจังหวัดยะลา 5 ปี พ.ศ.2566 - 2570 (ฉบับทบทวน ปี พ.ศ.2567) และแผนพัฒนาราชการประจำปีของจังหวัดยะลา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมแสดงความคิดเห็น สังเกต และเสนอแนะ
โดยทั้งนี้ ว่าที่ร้อยตรี พงศธร รัตนประพันธ์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด ได้สรุปสาระสำคัญของการจัดทำแผนพัฒนายะลา 5 ปี พ.ศ.2566 - 2570 ว่า จังหวัดยะลา ได้เชิญหัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคม เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัดยะลา ที่โรงแรม SeeSea Resort ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล เมื่อ 7-8 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา
“ได้ร่วมวิเคราะห์ศักยภาพจังหวัดและสภาพแวดล้อม วิเคราะห์ปัจจัยภายใน (Intemal Factors) ทั้งจุกแข็งและจุดอ่อน และปัจจัยภายนอก ที่เป็นโอกาสและภัยคุกคามของจังหวัด ซึ่งครอบคลุมวิเคราะห์ใน 6 มิติ คือ 1. มิติการเมือง 2. มิติเศรษฐกิจ 3.มิติสังคม 4.มิติเทคโนโลยี 5.มิติสิ่งแวดล้อม 6.มิติกฎหมาย จากการวิเคราะห์เวทีระดมความคิดและสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ทุกภาคส่วน ในการประชุมเชิงปฏิบัติการทบทวนฯครั้งนี้ เพื่อไปรวบรวมข้อมูลไปทำการวิเคราะห์ SWOT Analysis ต่อไป”
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้สรุปสาระสำคัญ(ร่าง)แผนพัฒนาจังหวัดยะลา 5 ปี พ.ศ. 2566-2579 ฉบับทบทวน ปี พ.ศ.2568 นำเสนอตามประเด็นการพัฒนา จำนวน 4 ประเด็น ให้ที่ประชุมรับฟังความคิดได้เสนอแนะ ได้แก่ ประเด็นการพัฒนาที่ 1 เสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตเกษตรมูลค่าสูงสุดผลิตภัณฑ์ชุมชนและอุตสาหกรรมแปรรูป เชื่อมโยงตลาดดิจิทัล ประเด็นการพัฒนาที่ 2 ส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยว และบริการที่เน้นคุณค่าและความยั่งยืนเชื่องโยงชุมชนและท้องถิ่น ประเด็นพัฒนาที่ 3 ส่งเสริมความเข็มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก และศักยภาพของประชาชน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และประเด็นพัฒนาที่ 4 ระดมภาคีทุกภาคส่วนร่วมเสริมสร้างความสงบ สันติสุข และความมั่นคง
นอกจากนี้ ในที่ประชุมรับฟังความคิดเห็นแผนพัฒนาจังหวัดยะลา 5 ปี พ.ศ.2566 - 2570 ให้แสดงในแบบความคิดเห็น และเสนอแนะ เพื่อส่งให้สำนักงานจังหวัดยะลา ได้รวบรวมข้อมูลส่งไปให้ ก.บ.จ.นำผลการประชุมปรึกษาหารือ และความคิดเห็นของที่ประชุมมาปรับปรุงแผนพัฒนาให้สมบูรณ์ แล้วเสนอ ก.น.บ. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นขอบและเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติต่อไป