องคมนตรี ลงติดตามผลการดำเนินงานของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 41 จังหวัดยะลา

วันนี้ (23 มิ.ย.65 ) เวลา 16.00 น. ที่หอประชุมโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 41 จังหวัดยะลา อำเภอรามัน จังหวัดยะลา พลเรือเอก พงษ์เทพ หนูเทพ องคมนตรี ประธานมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์และคณะ เดินทางตรวจเยี่ยมติดตามผลการดำเนินงานของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 41 จังหวัดยะลา พร้อมทั้งให้โอวาทแก่นักเรียนและคณะครู เยี่ยมชน นิทรรศการ การจัดการเรียนการสอน ต่างๆของทางโรงเรียน โดยมี นายภิรมย์ นิลทยา ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ รวมถึง คณะผู้บริหาร ครู บุคลากร และนักเรียน ร่วมให้การต้อนรับ


   

โอกาสนี้ องคมนตรี และคณะ ได้ร่วมประชุม ติดตามผลการดำเนินงานของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 41 ตลอดผลความก้าวหน้า ตามนโยบายการขับเคลื่อนของมูลนิธิฯและปัญหาอุปสรรค จากนายมามะซูฟี อารง ผู้อำนวยการโรงเรียนฯ ต่อด้วยตรวจเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากทางมูลนิธิฯ


     

โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 41 จังหวัดยะลา จัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เพื่อรองรับเด็กด้อยโอกาส เด็กกำพร้าเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ได้รับบริการทางการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง เป็นโรงเรียนประเภทศึกษาสงเคราะห์และมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้ได้ความอนุเคราะห์เข้ารับโครงการฯ โดยมุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนที่จบจากการศึกษาขั้นพื้นฐาน สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพและดำรงชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปัจจุบันมีนักเรียน586 คน โดยแยกเป็นระดับ ประถมศึกษา 160 คน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 301 คน ระดับมัธยมศึกษาตอน ปลาย 145 คน โดยทั้งหมดจะเป็นนักเรียนชายคิดเป็นร้อยละ 55.29 และนักเรียนหญิงร้อยละ 44.71 จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด 586 คน ในปีการศึกษานี้ มีนักเรียน จำนวน 41 คน ที่เป็นนักเรียนที่เคยเรียนที่ประเทศซาอุดิอาราเบียและคูเวตตั้งแต่ยังเล็กแล้วประสบปัญหาค่าเล่าเรียนที่ ทั้งสองประเทศนี้ได้เก็บเพิ่มขึ้นสูงมาก ประกอบกับผู้ปกครองของนักเรียนเหล่านี้ ซึ่งได้ไปประกอบอาชีพในประเทศทั้งสองประสบปัญหา การตกงานอันเป็นผลสืบเนื่องจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้ไม่สามารถเรียนต่อได้


   

จึงตัดสินใจเดินทางกลับมายังประเทศไทย เมื่อกลับมายังประเทศไทยผู้ปกครองของนักเรียนได้ประสานขอความช่วยเหลือในการเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ทั้ง 3โรงในพื้น 3 จังหวัดเพื่อช่วยหาทางให้ความช่วยเหลือทางด้านการศึกษาให้กับนักเรียนเหล่านี้ซึ่งนักเรียนเหล่านี้ใช้ภาษาอาหรับในการสื่อสารตั้งแต่เด็กไม่สามารถสื่อสารเป็นภาษาไทยได้ โรงเรียนจึงได้ปรับวิธีการเรียนการสอนของนักเรียนเหล่านี้โดยการสอนภาษาไทยเป็นหลักก่อน โดยมีวิทยากรสอนอิสลามศึกษาของโรงเรียนที่สามารถสื่อสารภาษาอาหรับได้เป็นพี่เลี้ยงครูภาษาไทยในการสอน ส่วนวิชาสามัญบางวิชาโรงเรียนได้วางแผนให้นักเรียนเหล่านี้ศึกษาทาง internet ไปก่อน โดยโรงเรียนจัดห้องคอมพิวเตอร์ 1 ห้อง เป็นห้องสืบค้น 1 ห้อง เป็นห้องสืบค้น


   

นอกจากนี้การป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด 19 คุณครูของโรงเรียนได้รับการฉีดวัคซีน เข็มที่  ร้อยละ 100 เข็มที่ 2ร้อยละ 98.79 เข็มที่ 3 ร้อยละ 25.30 นักเรียนของโรงเรียนได้รับการฉีดวัคซีน เข็มที่ 1 ร้อยละ 79.37 เข็มที่ 2 ร้อยละ 70.16 และเข็มที่ 3 ร้อยละ 0.93 ส่วน การจัดการเรียนการสอนช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในปี การศึกษา 2564 ที่ผ่านมา โรงเรียนได้จัดการเรียนการสอน 3 รูปแบบ คือ การสอน แบบ On hand  online ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2565 เป็นต้นมา ได้ทำการเรียนการสอน Onsite     เป็นไปตามมาตรการที่กระทรวงสาธารณสุข กำหนดอย่างเคร่งครัด


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar